ส้มตำผลไม้

Leave a comment »

การปลูกผลไม้

การปลูกผลไม้

 

เรื่อง  การปลูกไม้ผล

สาระสำคัญ

การปลูกไม้ผล เพื่อการบริโภคและจำหน่าย ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างมาก เพราะการปลูกไม้ผลสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายครั้งและสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ที่สามารถเก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น แต่การปลูกไม้ผลจะต้องเรียนรู้การวางแผนและศึกษากระบวนการผลิตอย่างถูกต้องและเหมาะสมจึงจะทำให้การผลิตอย่างถูกต้องและเหมาะสมจึงจะทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ต้องสามารถหาตลาดจำหน่ายผลผลิตได้อีกด้วย
รายระเอียดสาระการเรียนรู้
การศึกษาเรื่องการปลูกไม้ผลสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

1.   ความหมายและความสำคัญ

1.1  ความหมายของไม้ผล

ไม้ผล หมายถึง ไม้ยืนต้นเป็นส่วนใหญ่ที่มีอายุหลายปี และให้ผลที่ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ซึ่งเราเรียกผลนี้ว่าผลไม้

ผลไม้สดแม้จะไม่ใช่อาหารสดก็ตาม แต่ก็จัดเป็นอาหารเสริมที่ขาดไม่ได้เป็นพืชที่ให้ทั้งวิตามินและเกลือแร่หลายชนิดที่ไม่มีหรือมีน้อยในอาหารหลักหรืออาจจะสูญเสียได้ง่ายในระหว่างที่ปรุงอาหารด้วยความร้อน เช่น วิตามินซี การปรุงอาหารโดยใช้ความร้อนจะทำให้วิตามินซีสลายตัวไป ดังนั้นการรับประทานอาหารสดเหล่านี้จึงช่วยเสริมสร้างในส่วนที่ขาดไปและทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเป็นปกติโดยเฉพาะระบบขับถ่าย ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและอื่นๆ ผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงไม่จำเป็นจะต้องมีราคราแพง ผลไม้ในบ้านเรามีหลายชนิด ปลูกง่าย ราคาถูกและให้คุณค่าทางอาหารสูง  เช่น  ฝรั่ง กล้วย มะละกอ สัปปะรด น้อยหน่า มะไฟ เป็นต้น

1.2  ความสำคัญของผลไม้

1.2.1  ผลไม้ช่วยสร้างความมั่นคงของประเทศ

1.2.2  ผลไม้เป็นอาหารสำคัญที่ช่วยป้องกันโรค

1.2.3  ไม้ผลให้ผลผลิตสูงต่อหน่วยต่อพื้นที่ช่วยสร้างรายได้แก่เกษตรกรผู้ผลิต

1.2.4  ให้พลังงานแก่ร่างกายของผู้บริโภค

1.2.5  ไม้ผลอาจทำรายได้ให้กับประชากรและประเทศเป็นจำนวนมาก

2.  วัตถุประสงค์ในการปลูกไม้ผล

วัตถุประสงค์ในการปลูกไม้ผล  การปลูกไม้ผลภายในโรงเรียนนั้นโดยทั่วไปแล้ว มีวัตถุประสงค์ดังนี้

2.1  ประดับบริเวณโรงเรียนให้สวยงามกับการควบคู่กับการใช้ประโยชน์จากร่มเงาของไม้ผลเพื่อเป็นที่พักผ่อนของนักเรียน ถ้าเป็นกรณีนี้ควรเลือกไม้ผลที่มีลำต้นใหญ่ ให้ร่มเงาได้ดี มีพุ่มต้นและใบสวย และผลไม่เป็นอันตราย เช่น  มะม่วง  เงาะ  ขนุน  ส้มโอ  มะขาม  มังคุด  กระท้อน  เป็นต้น

2.2  ปลูกเพื่อเป็นแปลงฝึกปฏิบัติการดูแลและการขยายพันธุ์  ควรเป็นไม้ผลพุ่มค่อนข้างเตี้ย  เพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงานของนักเรียน  เช่น  มะม่วง  มะขาม ( ต้องคอยดูแลอย่าให้พุ่มต้นสูงมาก ) ฝรั่ง ละมุด น้อยหน่า  เป็นต้น

2.3  ปลูกเพื่อต้องการผลผลิตใช้ในโครงการอาหารกลางวัน  ให้นักเรียนมีผลไม้รับประทานตลอด  ควรเลือกไม้ผลที่ดูแลรักษาง่าย ให้คุณค่าทางอาหารสูง ออกดอกออกผลตลอดทั้งปี เช่น ฝรั่ง ละมุด กล้วย มะพร้าว ทับทิม มะละกอ เป็นต้น

2.4  ปลูกง่าย ดูแลรักษาง่าย โตเร็ว เป็นข้อที่ควรคำนึงถึงอย่างยิ่ง

2.5  สภาพพื้นที่และการใช้พื้นที่ของโรงเรียนต้องเหมาะสม โดยเฉาะอย่างยิ่งการปลูกไม้ผลควบคู่กับการปลูกผัก และไม้ดอกไม้ประดับที่ต้องการแสงแดดจัด ต้องคำนึงถึงร่มเงาจากไม้ผลที่จะไปรบกวนไม้ผักด้วย

3.  การเลือกชนิดของไม้ผลที่จะปลูก

การที่จะเลือกปลูกไม้ผลชนิดใด ควรพิจารณาความต้องการสภาพดินฟ้าอากาศของไม้ผลแต่ละชนิด ต้องพิจารณาให้ถูกต้องเหมาะสมมีหลักพิจารณา  ดังนี้

3.1 ไม้ผลที่ต้องการอากาศค่อนข้างร้อนและชื้น ต้องการความชื้นในดินและในอากาศค่อนข้างสูง เช่นเงาะ ทุเรียน มังคุด ลางสาด มะไฟ เป็นต้น พวกนี้เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศเย็น ฝนตกชุก เช่น ทางภาคใต้ ภาคตะวันออก และบางส่วนของภาคกลาง

3.2  ไม้ผลที่ต้องการอากาศกึ่งร้อน เช่น ลิ้นชี่ ลำไย จะเจริญเติบโตได้ดีทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในบริเวณที่มีอากาศเย็นบางจังหวัด เช่น อำเภอปางช่อง จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดเลย  เป็นต้น

3.3  ไม้ผลที่ต้องการอากาศเย็นจัด โดยเฉาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีน้ำค้างและหมอกจัด เช่น สตรอเบอร์รี่ แอปเปิ้ล ท้อ เป็นต้น ไม้ผลเหล่านี้ จะสามารถเติมโตได้ดีทางภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามแถบภูเขาสูง  ที่มีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี

3.4  ไม้ผลที่ปลูกได้ทั่วๆไป แม้แต่ในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง และอากาศร้อนจัดก็สามารถเจริญเติบโตได้ เช่น มะม่วง ขนุน ละมุด ฝรั่ง น้อยหน่า  เป็นต้น

4.  การออกแบบผังการปลูกไม้ผล

4.1  ข้อควรคำนึงในการวางผังระยะปลูกไม้ผล  ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

4.1.1  เพื่อให้จำนวนต้นมากที่สุด

4.1.2  ระยะปลูกที่เหมาะสม

4.1.3  เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน

4.2  การวางระยะการปลูกไม้ผล  การวางผังปลูกไม้ผลจะมีระบบการวางผัง หลายวิธี  ดังนี้

4.2.1 ระบบการปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส  (Square  system) คือการวางไม้ผลให้ทุกด้านห่างกันเท่ากับ 4 ต้น วิธีนี้มีข้อเสียคือ    จะ     ทำให้พื้นที่ตรงจุดกึ่งกลางของต้นทั้งสี่ไม่ได้ประโยชน์ แต่จะสามารถใช้เครื่องมือไถพรวน การให้น้ำ  การบำรุงรักษาได้สะดวก

4.2.2 ระบบการปลูกแบบสี่เหลี่ยมแซมกลาง (Filler  system) คือการวางผังปลูกไม้ผลคล้ายสี่เหลี่ยมแตกต่างกันตรงระหว่างต้นนั้นจะปลูกไม้ผล 1 ต้น ระบบนี้ไม่นิยมใช้ปลูกพืชถาวร เว้นแต่ว่าระยะปลูกห่างกัน 15 เมตร

4.2.3 ระบบการปลูกแบบหกเหลี่ยม (Septuple  system) คือการวางผังปลูกแบบหกเหลี่ยม ซึ่งระบบนี้สามารถเพิ่มจำนวนไม้ผลได้มากกว่า ระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ยากแก่การดูแลและปฏิบัติงาน

4 .2.4 ระบบการปลูกแบบระดับพื้นที่กำหนด ( Contour system) คือการวางผังปลูกโดยอาศัยระดับความสูงต่ำของพื้นที่ในระหว่างแนวคันดิน ระบบนี้ ระยะระหว่างต้นระหว่างแถวไม่เท่ากัน

ระยะปลูกเป็นความห่างระหว่างตำแหน่งปากหลุม ซึ่งระยะระหว่างต้นและระยะระหว่างแถว อาจจะเท่ากัน เช่น 5 x 5 เมตร หรืออาจจะไม่เท่ากัน เช่น 5 x 7 เมตร ระยะปลูกไม้ผลขึ้นอยู่กับไม้ผล และทรงพุ่มที่ต้องการ

5.  วิธีการปลูกและดูแลรักษา

5.1  การเตรียมหลุมปลูก  ขนาดของหลุมปลูกที่จะใช้สำหรับปลูกไม้ยืนต้นนั้น หากสามารถเตรียมได้ขนาดใหญ่ยิ่งดี ขนาดของหลุม กว้าง-ยาว-ลึก ประมาณ 50-100 เซนติเมตร แล้วแต่ชนิดไม้ผลและสภาพพื้นที่ปลูก ถ้าดินดีก็ขุดหลุมปลูกขนาดเล็กได้ แต่ถ้าดินไม่ค่อยดี ควรขุดหลุมปลูกขนาดใหญ่ จะได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น แล้วผสมดินด้วยปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ เมื่อคลุกเคล้ากันดี ให้กลบดินลงก้นหลุมก่อนปลูก

5.2  กิ่งพันธุ์ที่นำมาปลูก  กิ่งพันธุ์ไม้ผลที่นำมาปลูกนั้นส่วนใหญ่จะใช้กิ่งทาบ  กิ่งติดตา  และกิ่งตอน  ปกติกิ่งทาบหลังจากตัดแล้วจะถูกนำมาชำไว้ในกระถาง  หรือถุงพลาสติกดำเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะนำไปปลูก  หากเป็นกิ่งตัดที่ตัดมาใหม่ๆจากต้นให้ตัดกิ่งให้มีจำนวนใบเหลือน้อยใบอ่อนที่มีอยู่จะทำให้น้ำระเหยได้มากกว่าส่วนอื่นจึงควรตัดทิ้งเสีย  แช่กิ่งตอนใส่ถุงพลาสติก  กระชุ  หรือกระถาง  โดยตุ้มตอนอยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินประมาณ  2  นิ้ว  ก่อนชำอย่าลืมแกะเอาเชือกและพลาสติกที่หุ้มออกด้วย  จนกระทั่งกิ่งตอนตั้งตัวได้แข็งแรงดีแล้วจึงนำไปปลูก

5.3  วิธีปลูก  เมื่อเตรียมกิ่งพันธุ์เรียบร้อยแล้วจึงลงมือปลูก  โดยถ่ายกิ่งพันธุ์ออกจากกระถางหรือพลาสติกที่ชำไว้  ถ้ามีรากหุ้มด้านนอก  ค่อยๆ  คลี่ให้กางออก  กิ่งตอนเวลาปลูกให้กลบดินบริเวณโคนต้น  สูงกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อย  กิ่งทาบและกิ่งติดตา  เวลาปลูกต้องให้รอยทาบหรือรอยติดตาสูงกว่าระดับดิน  ข้อที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่งคือ  ต้องแกะผ้าพลาสติกที่พันรอยทาบออก  เมื่อตั้งตัวแล้วอย่าลืมทิ้งไว้  เพราะเมื่อต้นไม้มีการขยายขนาดของกิ่ง  ผ้าพลาสติกนี้จะไปรัดจนลงไปในส่วนของเนื้อไม้ทำให้กิ่งหัก  หรือตายได้
5.4  การดูแลรักษา  การดูแลรักษาไม้ผลหลังจากปลูกแล้ว  นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากความสมบูรณ์ของต้นจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงผลผลิตที่จะได้รับการดูแลไม้ผลที่ควรปฏิบัติดังนี้
5.4.1.  การค้ำกิ่ง  สิ่งสำคัญในระยะที่ปลูกใหม่ๆ  คือการตั้งตัวของต้นไม้ถ้าตั้งตัวได้เร็วก็มีโอกาสรอดได้มาก  ทำให้รากสามารถหาอาหาร  และใบสามารถสังเคราะห์แสงได้เร็ว  ต้นก็จะเจริญเติบโตได้ดีขึ้น  วิธีที่ช่วยให้ต้นไม้ที่ปลูกใหม่ตั้งตัวได้เร็วไม่เอนหรือล้มเพระแรงลม  สัตว์  และอื่นๆ  คือการค้ำกิ่งสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน  อาจจะใช้ไม้รวก  1  อัน  ปักยึด  หรือใช้ไม้รวก  2  อัน  หรือ  3  อัน  ยาวประมาณ  1  เมตร   ปักยึดเป็น 3 เส้า  โดยให้ส่วนปลายหันเข้าหาต้นไม้ที่ปลูกไว้และมัดติดกับลำต้นต้องคอยดูบริเวณรอยมัดเสมอ  หากแน่นเกินไปเนื่องจากต้นไม้มีการขยายตัว  ควรคลายออก  และเมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้แล้วจึงปลดออก  หรืออาจป้องกันไม่ใช้เชือกเป็นอันตรายกับต้นไม้โดยการใช้กระสอบป่านพันรอบๆ ลำต้นบริเวณที่ผูกเชือก
5.4.2  การคลุมดิน  หลังจากปลูกเรียบร้อยแล้วควรใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรต่างๆ  เช่น  แกลบ  ฟางแห้ง  หญ้าแห้ง  ใบไม้แห้ง  ซังข้าวโพด  และอื่นๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น  คลุมดินบริเวณรอบๆ  โคนต้น  ซึ่งจะเกิดผลดังนี้
1 )  ช่วยรักษาความชื้นของดิน  ป้องกันไม่ให้น้ำระเหยไปจากดินอย่างรวดเร็ว  ลดแรงปะทะของเม็ดฝน  และรดน้ำได้สะดวก  ช่วยป้องกันการชะหน้าดิน  และทำให้หน้าดินไม่จับตัวกันแน่น  จึงเก็บซับน้ำไว้ได้ดี
2)  ช่วยป้องกันวัชพืช  ถ้าคลุมดินหนาพอ  ทำให้ประหยัดแรงงานในการกำจัดวัชพืช
3)  วัสดุคลุมดินเมื่อสลายตัว  ก็จะกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินปลูกทำให้ดินโปร่ง  ร่วนซุย  ดูดซับน้ำได้ดี
5.4.3  การให้น้ำ  ปกติการให้น้ำไม้ผลจะทำได้ง่ายสะดวกกว่าการให้น้ำพืชผัก  และไม้ดอกไม้ประดับ  หลังจากปลูกไม้ผลในระยะแรกๆ  ควรรดน้ำทุกวัน  จนกว่ากิ่งไม้ผลนั้นจะตั้งตัวได้  แล้วจึงค่อยเว้นระยะเวลาหรือความถี่ในการลดน้ำ  ปกติแล้วเมื่อไม้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้นจะทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร  เมื่อฝนตกอาจหยุดให้น้ำ ½ – 1 เดือน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของไม้ผลและสภาพของดิน  ควรสังเกตจากอาการของต้นไม้ผลจะดีที่สุด  อย่าปล่อยให้ขาดน้ำซึ่งจะมีผลต่อการให้ผลผลิต  นอกจากนี้ระยะที่ต้องระมัดระวังอย่าให้ขาดน้ำ  คือ  ระยะที่เริ่มออกดอก  งดน้ำระยะเวลาที่ดอกบาน  เมื่อติดผลแล้วจึงให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผล  การให้น้ำควรให้น้อยแต่ปล่อยครั้งดีกว่าให้ครั้งละมากๆ  แต่นานๆ ครั้ง  นอกจากนั้นการมีวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น  จะช่วยยืดระยะเวลาในการให้น้ำ  ทำให้ประหยัดเวลาและแรงงานในการให้น้ำด้วย
5.4.4  การใส่ปุ๋ย  ปุ๋ยที่ควรใส่ตั้งแต่เริ่มปลูกคือปุ๋ยอินทรีย์ (Organic  Fertilizer)  ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยปรับปรุงคุณภาพของดินให้ร่วนเหมาะแก่การเจริญเติบโต  ปรับสภาพความเป็นกรดหรือด่างจัดให้มีสภาพเป็นกลาง  และเป็นแหล่งของธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม  การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควรใส่อย่างน้อยปีละ  1 – 2  ครั้ง  ส่วนการใส่ปุ๋ยเคมีควรแบ่งใส่ครั้งละน้อยๆ  เพราะปุ๋ยเคมีสลายตัวเร็ว  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใส่ปุ๋ยให้กับต้นไม้ผล  มีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน  ที่ควรต้องคำนึงถึงก็คือ  อายุของต้นไม้  สภาพของดิน  ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม  ปริมาณน้ำฝน  ชนิดของผลไม้  วิธีการใส่ปุ๋ย  โดยทั่วไปมักใช้การโรยหรือหว่านบริเวณรอบๆ  ทรงพุ่ม  ซึ่งรากที่ทำหน้าที่ในการดูดน้ำและแร่ธาตุอาหารจะอยู่ในบริเวณนี้เป็นส่วนใหญ่  จากนั้นจึงพรวนดินกลบให้ปุ๋ยคลุกเคล้าเข้ากับดิน  นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (Inorganic Fertilizer)  ในไม้ผลจะใส่ตามธาตุอาหารหลัก (Primary-element Fertilizer)  ตามธาตุในโตเจน (N)  ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) โดยมีสูตรทั่วไปในการใส่ปุ๋ยไม้ผล  แบ่งออกตามช่างระยะเวลาการเจริญเติบโตได้ดังนี้

1)  ช่วงการเจริญเติบโต           N : P : K : = 1 : 1 : 1
2)  ช่วงการออกดอก              N : P : K : = 1 : 2 : 1
3)  ช่วงการให้ผล                  N : P : K : = 1 : 1 : 2
5.4.5 การตัดกิ่ง  การตัดกิ่งต้องศึกษาถึงนิสัยของไม้ผลแต่ละชนิดเป็นอย่างดีก่อนเสมอ  ไม้ผลบางชนิดสามารถตัดแต่งกิ่งออกได้มาก  บางชนิดต้องตัดแต่งทีละน้อย  หากตัดแต่งผิดพลาดอาจจะเกิดผลเสียได้  ถ้ายังไม่แน่ใจควรตัดแต่งแต่น้อยก่อน  ในการตัดแต่งกิ่งไม้ผลมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เพื่อให้ได้ทรงตันที่เหมาะสม  ทำงานได้สะดวก  เช่นการฉีดพ่นสารเคมี  การไถพรวน  การเก็บผล  การตัดแต่งควรทำตั้งแต่ต้นยังเล็กอยู่จนกระทั่งได้รูปทรงตามต้องการ  และคอยตัดแต่งเพื่อให้คงรูปทรงเดิมตลอดไป
2)  เพื่อสร้างความแข็งแรงสมบูรณ์ให้กับต้น  กิ่งส่วนหนึ่งเป็นกิ่งที่ไม่มีประโยชน์  เช่น  กิ่งที่เล็กเกินไป  กิ่งที่อ่อนแอ  กิ่งที่คดงอ  กิ่งในพุ่มไม่โดนแดด  กิ่งแก่  กิ่งที่เป็นโรคและแมลงรบกวน  กิ่งเหล่านี้ไม่ได้ให้ดอกให้ผล  และสิ้นเปลืองอาหาร  จึงควรตัดแต่งออกให้หมด  และทำอยู่ตลอดเวลาเมื่อพบเห็นกิ่งที่ไม่ต้องการ
3)  เพื่อให้ออกดอก  ไม้ผลหลายชนิดถ้าไม่ตัดแต่งจะไม่ให้ดอกหรือดอกน้อย  เช่น  พุทรา  น้อยหน่า  ฝรั่ง  มะม่วง  เป็นต้น
4)  เพื่อป้องกันหรือลดการระบาดของโรคและแมลง  เป็นการตัดแต่งกิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงทำลายทิ้งหรือตัดแต่งให้ทรงต้นโปร่งแดดส่องถึง

6.  ระบบที่ใช้ในการตัดแต่งไม้ผล
ระบบที่นิยมใช้ในการตัดแต่งไม้ผล  แบ่งออกเป็น  3  รูปแบบ  ดังนี้
6.1  แบบมียอดนำตรงกลาง (Pyramid  or  Central  Leader)  เป็นลักษณะการตัดแต่งรูปแบบไม้ผลคล้ายกับรูปปิระมิด  มียอดนำตรงกลาง  มีกิ่งใหญ่  กิ่งรอง  ห่างกันเป็นสัดส่วน  จะทำให้กิ่งแข็งแรง  แต่จะทำให้เกิดร่มเงาภายในทรงพุ่มมาก  แสงสว่างส่องไม่ถึงแกนนำต้น  เกิดโรคได้ง่าย
6.2  แบบไม่มียอดนำตรงกลางหรือรูปแจกัน (Vase  or Open Center)  เป็นลักษณะที่ไม่มียอดกลางเด่นชัด เช่นชมพู่  วิธีแบบนี้รักษาง่าย
6.3  แบบมียอดนำที่ดัดแปลง (Modified  Leader)  เป็นลักษณะมียอดที่ดัดแปลงระหว่างการมียอดนำตรงกลาง  ในระหว่างระยะการตัดแต่งรูปแบบจะตัดยอดนำตรงกลางออกเล็กน้อย  เพื่อไม่ให้มียอดเด่นชัด  วิธีการตัดยอด  การตัดยอดจะคัดเลือกยอดข้างไว้  และจะทำซ้ำๆ กันไปจนได้กิ่งก้านที่กระจ่ายไปทั่วต้นตามความต้องการและเป็นกิ่งที่ให้ผลผลิตกระจายอยู่ตามพื้นดิน
หลักทั่วไปในการตัดแต่งไม้ผล
1)  การที่จะตัดกิ่งมากหรือน้อย  ควรจะสังเกตผลผลิตและการเจริญของต้น  ถ้ามีการตัดแต่งกิ่งพอสมควรผลผลิตก็จะสมดุล
2)  การตัดแต่งกิ่งต้องเข้าใจตำแหน่งของตาดอก
3)  กิ่งที่หักหรือกิ่งที่เป็นโรค  ควรตัดออกไป

7.  ข้อเสนอแนะในการผลิตไม้ผล
7.1  การคัดเลือกชนิดของไม้ผล  โดยคำรึงถึงความต้องการในประเทศในแง่อุตสาหกรรมและการส่งออก
7.2  การพิจารณาในแง่ความแน่นอนของผลผลิต  อุตสาหกรรม  การควบคุมโรคและแมลง  และหาวิธีขยายพันธุ์ที่เหมาะสมกับไม้ผล
7.3  ควรมีการปรับปรุงวิธีการบรรจุหีบห่อ  การขนส่ง  และการเก็บไว้ในห้องเย็น

 

Leave a comment »

น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ

น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ

อยากดูแลสุขภาพของคุณให้ดูดีอยู่เสมอ อยากมีสุขภาพดี ร้านของเราขอนำเสนอน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพเป็นน้ำผลไม้ผสมสมุนไพร ดื่มง่าย ไม่ขม น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพจากร้านของเราผลิตจากผลไม้คุณภาพดี ทำให้ดื่มง่าย และยังอุดมไปด้วยวิตามินต่างๆ ที่ดื่มแล้วช่วยให้มีสุขภาพดีขึ้น ร่างกายและผิวพรรณดี ราคากันเอง เมื่อเทียบกับคุณภาพและประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากการดื่ม น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ของเรา

 

ประโยชน์ของ น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ

น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ เป็นน้ำผลไม้ที่มีประโยชน์ เหมาะสำหรับทุกท่านที่อยากมีสุขภาพดี

  • น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ช่วยปรับระบบการทำงานในร่างกายให้เกิดความสมดุล และอยู่ในภาวะปกติ
  • น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ช่วยฟื้นฟู ซ่อมแซมระบบเซลล์ในร่างกาย
  • น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ช่วยในการบำรุงสมอง บำรุงหัวใจ บำรุงสายตา
  • น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ทำให้ระบบย่อยอาหาร ระบบลำไส้ และระบบการเผาผลาญอาหารทำงานได้ดีขึ้น
  • น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ชะลอความแก่ และทำให้ผิวพรรณสดใส
  • น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ลดอาการปวดตามข้อ ข้อเสื่อม ปวดเมื่อย
  • น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการเกิดมะเร็ง
  • น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ บรรเทาอาการวัยทอง มีบุตรยาก
  • น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น ป้องกันมะเร็งลำไส้และโรคริดสีดวงทวาร
  • น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ บำรุงเลือดและป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ บำรุงปอดแก้หลอดลมอักเสบ ไอเรื้อรัง

 

น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ได้ประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด!!

ทำไมต้องดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ทุกๆวันของชีวิตของคนเมืองส่วนใหญ่ล้วนเร่งรีบ มักจะสนใจแต่การทำงาน จนลืมนึกถึงการดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเอง ทั้งด้านอาหาร การออกกำลังกาย ตลอดจนการขาดการตรวจสุขภาพที่เหมาะสม การดูแลสุขภาพอย่างง่ายๆ อาจต้องเริ่มต้นจากการเลือกรับประทานอาหาร ที่เหมาะสม น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ต้องการดูแลสุขภาพ สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องเลือกดื่มน้ำผลไม้ 100% ซึ่งในที่นี้หมายถึงน้ำผลไม้ 100% ซึ่งคั้นมาจากผลไม้สดชนิดต่างๆ ที่จะให้สารอาหารใกล้เคียงกับการรับประทานผลไม้สด แต่สิ่งที่ขาดไปก็คือใยอาหารซึ่งอยู่ในเนื้อผลไม้ และถูกกำจัดไปโดยการคั้นแยกกากออกไป น้ำผลไม้ที่ได้จึงจะเรียกได้ว่าน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง

น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ

Leave a comment »

แอปเปิ้ล ผลไม้เพื่อสุขภาพ (Slim Up)

แอปเปิ้ล ผลไม้เพื่อสุขภาพ  (Slim Up)


การจำกัดปริมาณอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักนั้น เป็นเรื่องยากสำหรับคุณผู้หญิง เพราะไหนจะต้องทนต่อความหิวจนกว่าจะผอม แต่พอผอมสมใจกลับโดนทักว่าทำไมดูซีดเซียว ไม่สดชื่น อวบอั๋นเหมือนตอนก่อนลดน้ำหนัก

 การรับประทานผลไม้จึงเป็นวิธีหนึ่ง ที่ช่วยแก้ปัญหาได้ทั้งการลดน้ำหนัก และการมีสุขภาพที่สดใส เพราะผลไม้ประกอบไปด้วยเส้นใยอาหาร (Fiber) ที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องมีน้ำตาลธรรมชาติที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้เร็ว และนำไปใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ ผลไม้ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอีกนับไม่ถ้วน ช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น ไม่ทรุดโทรม จึงเหมาะสำหรับสาว ๆ ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักเป็นที่สุด

 เมื่อถามคนใกล้ตัวว่า “อยากลดน้ำหนักจะทานผลไม้อะไรดี?” เชื่อว่าคงได้คำตอบกว่าครึ่งเป็นผลไม้รูปร่างอวบอัดที่ชื่อว่า “แอปเปิ้ล” แน่ ๆ เพราะแอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่มีสีสันชวนรับประทาน เนื้อสัมผัสกรอบ รสชาติอร่อย กลิ่นหอม มีคุณค่าทางโภชนาการสูง หาทานได้ง่าย ราคาไม่แพง และที่สำคัญคือไม่ทำให้อ้วน แอปเปิ้ลจึงได้ชื่อว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้ลดน้ำหนัก”

 กินแอปเปิ้ลวันละ 1 ผล ร่างกายแข็งแรง

 แอปเปิ้ลให้สารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและวิตามินซีเป็นหลักซึ่งปริมาณวิตามินซีจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว และความสด เนื้อแอปเปิ้ล 100 กรัม มีวิตามินซีประมาณ 6 มิลลิกรัม และให้พลังงานราว 59 แคลอรี ไม่ทำให้อ้วน แต่แอปเปิ้ลก็มีสารอาหารที่มีประโยชน์ชนิดอื่นทดแทน แบบที่เรียกได้ว่าไม่น้อยหน้าผลไม้อื่นแต่อย่างใด

 พลังงานที่ได้จากแอปเปิ้ลมีลักษณะพิเศษที่น่าสนใจคือ แอปเปิ้ลจะให้พลังงานค่อนข้างต่ำและค่อยเป็นค่อยไป เพราะแหล่งพลังงานของแอปเปิ้ลคือ น้ำตาลฟรักโทสซึ่งเป็นน้ำตาลที่เปลี่ยนรูปเป็นพลังงานอย่างช้า ๆ ในร่างกายช่วยให้ไม่รู้สึกหิว อิ่มนาน ผลที่ตามมาคือ ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูงเร็วเหมือนกินขนมหวาน จึงเหมาะกับคนไข้เบาหวานด้วยเช่นกัน

 เปลือกและเนื้อของแอปเปิ้ลมีเส้นใยอาหารที่ชื่อว่า “เพคติน” ที่มีคุณสมบัติพองตัวได้มาก ช่วยเพิ่มกากในทางเดินอาหาร ทำให้อวัยวะในทางเดินอาหารมีการทำงานเป็นปกติ เพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่าย ซึ่งเป็นการช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ และยังช่วยจับคอเลสเตอรอลไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ป้องกันโรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง

 นอกจากนี้ แอปเปิ้ลยังอุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่และสารอาหารที่มีประโยชน์อีกหลายชนิด ทั้งวิตามินเอ บี 1 บี 2 บี 6 ไบโอติน กรดโฟลิกกรดแพนโทเธอนิค เกลือแร่ คลอไรด์ เหล็ก ทองแดง แมกกานีส แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม ซิลิคอน และยังมีกรดอินทรีย์ 2 ชนิด คือ กรดมาลิคและกรดทาร์ทาริก ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีนและไขมัน สารอาหารเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน โดยเฉพาะวิตามินซี และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในแอปเปิ้ล จะช่วยป้องกันโรคหัวใจในผู้ที่รับประทานเป็นประจำ

 แอปเปิ้ลเขียว หรือแอปเปิ้ลแดง ที่มีประโยชน์มากกว่ากัน

เมื่อวิเคราะห์จากคุณค่าสารอาหารต่าง ๆ เปรียบเทียบระหว่างแอปเปิ้ลเขียวและแอปเปิ้ลแดง พบว่าไม่มีความแตกต่างกันมากนัก แต่สิ่งที่แอปเปิ้ลแดงมีเหนือกว่าเล็กน้อยคือ ปริมาณของสารแอนโทไซยานิน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์นั่นเอง

 ดื่มน้ำแอปเปิ้ล ก็ได้ประโยชน์เท่ากินทั้งลูก?

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะพบว่าประโยชน์ของแอปเปิ้ลมาจากองค์ประกอบ 3 ตัวด้วยกันคือ จากเส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระที่มีมากบริเวณเปลือก และจากน้ำตาลฟรักโทสที่มีมากในเนื้อแอปเปิ้ล ดังนั้นหากต้องการดื่มน้ำแอปเปิ้ล ควรเลือกวิธีการปั่นทั้งผล โดยไม่ต้องปอกเปลือก เพราะหากใช้วิธีคั้นน้ำ จะทำให้ได้เฉพาะน้ำตาลและสารต้านอนุมูลอิสระอีกเล็กน้อย ซึ่งอาจทำให้อ้วนได้มากกว่าเดิม และไม่ได้รับประโยชน์ทั้งหมดจากแอปเปิ้ลอย่างครบถ้วน

 กินแอปเปิ้ลอย่างไรให้ได้ประโยชน์

          ในแง่โภชนาการ แอปเปิ้ลไม่ใช่ผลไม้ที่มีวิตามินหรือแร่ธาตุในปริมาณสูงมากนัก เมื่อเทียบกับกล้วย ฝรั่งหรือส้ม แต่หากทานแอปเปิ้ลวันละ 2-4 ลูก โดยไม่ปอกเปลือกก็จะได้รับเส้นใยอาหารและสารอาหารต่าง ๆ ในปริมาณที่พอเหมาะ

ในปัจจุบันมีการกล่าวอ้างสรรพคุณของแอปเปิ้ลมากมาย เช่น บำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดความดัน ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดความอยากอาหาร ช่วยกระตุ้นการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่และฆ่าเชื้อไวรัส ซึ่งหากต้องการจะรับประทานแอปเปิ้ลสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมน้ำหนักแล้ว ก็ควรต้องทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และผักผลไม้อื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อป้องกันการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

Leave a comment »

แกะสลักผลไม้

Leave a comment »

กินกล้วยต้านโรค

กินกล้วยต้านโรค

กินกล้วยต้านโรค (Lisa)

กล้วย มีกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงได้หลายพันปี หลายปีมาแล้ว เชื่อกันว่ากล้วยเป็นผลไม้ชนิดแรกที่คนปลูก เพื่อเป็นอาหาร ประเทศไทยเราชื่อแน่ว่าปลูกกล้วยกินมานานมากแล้ว จดหมายในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ 300 กว่าปีมาแล้วก็กล่าวถึงเรื่องของกล้วย และยังมีผู้สำรวจและกล่าวว่ากล้วยหลาย 10 พันธุ์มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่คนไทยกลับนิยมกินกล้วยกินน้อยมาก บางคนดูถูกด้วยซ้ำว่าเป็นผลไม้ของคนยาก เนื่องจากราคาถูก จึงถูกจัดให้เป็นผลไม้เกรดต่ำ นำมาขึ้นโต๊ะรับแขกไม่ได้ แขกจะถูกแย่ว่าเลี้ยงกล้วย ต้องไปหาผลไม้แพงๆ ซึ่งความจริงผลไม้ไทยๆ อย่างกล้วยนี้ สุดยอดวิตามินเชียวล่ะ

กินกล้วย-ต้านโรค

ฟังดูชื่อเรื่อง บางคนอาจจะคิดว่า เกินเลยความจริงไปมั้ง

จริง ๆ แล้ว ไม่เกินเลยความจริงเลย กล้วยผลไม้ไทย ๆ ของเรานี่แหละใช้เป็นยาป้องกันและรักษาโรคได้หลายโรค และยังเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารครบทุกชนิดที่ร่างกายต้องการ คือมีทั้ง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และยังมีคุณสมบัติที่ย่อยง่าย ทางการแพทย์จึงได้เลือกให้กล้วยน้ำว้าสุกเป็นอาหารเสริมในวัยทารก

น้ำตาลที่เกิดขึ้นจากขบวนการเปลี่ยนแปลงของแป้ง ขณะที่กล้วยสุกก็มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อกล้วยตกไปถึงลำไส้จะทำให้ลำไส้มีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้แคลเซียมถูกดูดซึมง่ายและสมบูรณ์ขึ้น จึงนับว่าน้ำตาลในกล้วยมีคุณค่ากว่าน้ำตาลที่ได้จากธัญพืชอื่น ๆ

สารอาหารโปรตีนที่มีอยู่ในกล้วยน้ำว้า เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับเราอยู่หลายชนิด  โดยเฉพาะมีกรดอะมิโนที่มีชื่อว่า อาร์จินิน และ ฮีสติดีน ซึ่งกรดอะมิโนทั้ง 2 ตัวนี้ เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก

นอกจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตแล้ว ในกล้วยแต่ละชนิดยังมีไขมันแม้จะอยู่ในปริมาณที่น้อยก็ตาม

กล้วยแต่ละชนิดจะให้โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ในปริมาณที่แตกต่างกัน จะเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนจากตาราง โดยเปรียบเทียบจากเนื้อกล้วยในปริมาณ 100 กรัม เท่าๆ กัน

ส่วนวิตามินนั้น มองดูผิวเผิน กล้วยแต่ละชนิดสีขาวๆ ทั้งนั้นไม่น่าจะให้วิตามินเอเลย แต่ในกล้วยก็มีวิตามินเออยู่ด้วย แม้จะไม่มากเท่าวิตามินเอที่ได้จากมะละกอหรือมะม่วงสุก แต่ก็มีวิตามินเอมากกว่าผลไม้อีกหลาย ๆ ชนิด เช่น ชมพู่ ส้มโอ น้อยหน่า เป็นต้น ในบรรดากล้วยทุกชนิดนั้น กล้วยน้ำว้าจะมีวิตามินเอมากกว่าเพื่อน สำหรับวิตามินตัวอื่น กล้วยก็มีอยู่ครบทุกชนิดเช่นกัน ทั้งวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และไนอะซิน

 เกลือแร่สำคัญ ๆ ที่มีอยู่ในกล้วยก็คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก

           เมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้อื่น ๆ แล้ว กล้วยนับเป็นผลไม้ที่มีเกลือแร่อยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นแคลเซียม ฟอสฟอรัส หรือเหล็กก็ตาม กล้วยทุกชนิดมีแร่ธาตุมากกว่าผลไม้ชนิดต่าง ๆ ดังนี้

           มีธาตุเหล็กมากกว่าแตงโม พุทรา ระกำ ลำไย ลิ้นจี่ แอปเปิ้ล แคนตาลูป ฯลฯ

          มีแคลเซียมมากกว่าชมพู่ มะเฟือง มะไฟ มะยม มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย ฯลฯ

          มีฟอสฟอรัสมากกว่าลูกเงาะ ชมพู่ แตงไทย แตงโม มะเฟือง มะม่วง มังคุด ระกำ ละมุด แอปเปิ้ล แคนตาลูป ฯลฯ

กล้วย

ปริมาณสารอาหารที่ได้รับจากเนื้อกล้วย 100 กรัม

หมายเหตุ

จากตารางแสดงคุณค่าอาหารไทย ของกองโภชนาการ กรมอนามัย กรมอนามัย กรกฎาคม 2530

จากตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยของกองโภชนาการ กรมอนามัย กรกฎาคม 2530

ปริมาณวิตามินในเนื้อกล้วย 100 กรัม

จากตารางแสดงคุณค่าอาหารไทย ของกองโภชนาการ กรมอนามัย กรกฎาคม 2530

(คัดลอกข้อมูลจาก กินต้านโรค โดย พรพรรณ รพี)

Leave a comment »

ประโยชน์ของผลไม้

ประโยชน์ของผลไม้

แตงโม
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
แตงโมมีสารที่ว่ากันว่า ให้ความชุ่มชื้นต่อผิวที่แห้งผาก
หรือผิวที่ร้อนระอุในช่วงหน้าร้อนเป็นอย่างดี และแตงโมนั้นก็ยัง
ให้ความเย็นอยู่บนผิวของเราได้นานกว่าผลไม้ชนิดอื่น
โดยวิธีการดังนี้เตรียมผ้ากรองชนิดบางขนาดผ้าพันแผล 2 ผืน
เฉือนเนื้อแตงโมเป็นชิ้นบางๆ พอประมาณ วางลงระหว่างผ้า
ที่เตรียมไว้ โดยให้เนื้อแตงโมอยู่ระหว่างกลางผ้า 2 ชิ้น
หลังจากนั้น นำมาวางปิดลงบนใบหน้าให้ทั่ว เว้นส่วนของรูจมูก
ให้ผ้าและชิ้นแตงโมติดผิวหน้าและทุกส่วน ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที
หลังจากนั้นจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด

กล้วย
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
กล้วยทุกชนิดดีต่อสุขภาพ แต่กล้วยไข่ดีเป็นพิเศษ
ในเรื่องของสาร ต้านอนุมูลอิสระที่เรารู้จักดี
คือ เบต้าแคโรทีน โดยธรรมชาติเมื่อเราอายุมากขึ้น
หรือเกิน 22 ปีไปแล้ว ความเจริญเติบโตของร่างกาย
จะเริ่มหยุดชะงัก ความเสื่อมในส่วนต่างๆของร่างกาย
ก็เริ่มมาเยือน ช่วงนี้เอง มี 2 สิ่งที่สำคัญเกิดขึ้นในร่างกายเรา
ซึ่งก็คือเซลล์ในร่างกายทุกเซลล์ก็จะผลิตอนุมูลอิสระมากขึ้น
และส่วนที่สองคือ ความสามารถในการซ่อมแซมส่วนสึกหรอ
ของร่างกายจะลดลงเรื่อยๆ พร้อมกันนั้นความสามารถใน
การจำกัดอนุมูลอิสระ ก็ลดลง ในกล้วยไข่ 1 ขีด
มีสารเบต้าแคโรทีนถึง 492 มิลลิกรัม

มะละกอ
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
เป็นไม้ผลที่คนทั่วไปนิยมรับประทาน ผลดิบนำมาปรุงอาหาร
และผลสุกรับประทานสด น้ำมีรสหวานหอม มีวิตามินเอ และ
แคลเซี่ยมสูง มะละกอผลดิบมียาง มีสารเพคติน แคลเซี่ยม
วิตามินซี และอื่นๆ ผลสุก มีวิตามินเอสูง วิตามินซี สารเพคติน
เหล็ก แคลเซี่ยม และมีสาร Cerotenoid เป็นสาร
ที่ทำให้เนื้อมะละกอสุกมีสีส้ม ต้นมะละกอ ใช้เป็นยาขับประจำ
เดือน ลดไข้ ดอก ขับปัสสาวะ ราก แก้กลากเกลื้อน ยาง ช่วย
กัดแผล รักษาตาปลา หูด ฆ่าพยายธิ

ฝรั่ง
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
ทราบหรือไม่ว่าฝรั่ง 1 ขีด มีวิตามินซีสูงถึง 180 มิลลิกรัม วิตามิน
ซีมีบทบาทในการสร้างคอลลาเจน ที่ทำให้ผิวพรรณบนใบหน้าของคุณ
เต่งตึงไม่แก่ก่อนวัย และวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเจ้าตัวสาร
ต้านอนุมูลอิสระนี้เอง ที่ทำให้คอลลาเจน และอีลาสติเสื่อมสภาพ ผิวหนัง
เหี่ยวแห้ง เกิดริ้วรอยตีนกา วิตามินซีมีความสำคัญต่อการสร้างและบำรุง
เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เซลล์นับล้านตัวเกาะเกี่ยวกันเป็นร่างกายได้ด้วยเนื่อ
เยื่อที่เรียกว่า คอลลาเจนี มันคือ คอลลาเจนตัวเดียวกับคอลลาเจน ที่ทำ
ให้ผิวพรรณบนใบหน้าเต่งตึงนั่นเอง

ส้ม
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
แหล่งวิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยธรรมชาติ การรับประทานส้มโดย
ไม่คายกากจะช่วยคุมน้ำหนักได้อีกวิธีหนึ่ง เพราะจะทำให้รู้สึกอิ่ม
ท้องเร็ว เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักได้อย่างดีทีเดียว
นอกจากนี้ หากรู้สึกหิวก่อนเวลา แทนที่จะนึกถึงเค็กก้อนโต หรือ
โดนัทชิ้นใหญ่ ให้ลองหยิบส้มสักลูกเข้าปากแทนจะได้ประโยชน์
มากกว่าในราคาที่ถูกกว่า ผิวส้มมีน้ำมันหอมระเหย วิตามินซี
และสารอื่นๆ ใช้เป็นยา ผิวผลใช้สกัดทำทิงเจอร์สำหรับแต่งกลิ่นยา
และมีฤทธิ์ขับลม เปลือกส้ม ปรุงเป็นยาหอมแก้ลมวิงเวียน หน้ามืด
ตาลาย แก้ลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ น้ำจากผล ให้วิตามินซี รับประทาน
ป้องกัน และรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน บำรุงร่างกาย แก้ไอ
และขับเสมหะ

เงาะ
เปลือกผลเงาะนำมาต้มกินน้ำ เป็นยาแก้อักเสบ
มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบในช่องปาก
และโรคบิดท้องร่วง มีข้อควรระวังอย่าหนึ่ง
คือเม็ดในของเงาะ มีพิษ แม้ว่าจะเอาไปคั่วจนสุกแล้ว
แต่ถ้ากินมากเกินไปจะมีอาการปวดท้องเวียนศีรษะมีไข้
คลื่นไส้ อาเจียน ดังนั้นเม็ดเราไม่ควรจะรับประทาน

มะม่วง
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
ผลรสเปรี้ยว ชุ่มเย็น ใช้บำรุงกระเพาะอาหาร แก้คลื่นไส้ อาเจียน
วิงเวียน กระหายน้ำและขับปัสสาวะ ยางจากลูกและต้นผสมน้ำส้ม
หรือน้ำมันแก้คัน ดอกมะม่วง รับประทานแก้ท้องร่วง และเบาหวาน
แก้บิดเรื้องรัง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และหนองใน เมล็ด รสเปรี้ยว
ชุ่ม สุขุม แก้ไส้เลื่อน ท้องอืดแน่น และขับพยาธิ ใบอ่อนและเปลือก
ชงน้ำร้อนกินแก้ปวด อมบ้วนปากแก้เจ็บคอ ปวดฟัน เจ็บเหงือก
แต่ใบแก่จัดมีสารพิษ

Leave a comment »

ส้มโอ

ส้มโอ

ส้มโอ
ผลส้มโอ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
Kingdom: Plantae
Division: Magnoliophyta
Class: Magnoliopsida
Subclass: Rosidae
Order: Sapindales
Family: Rutaceae
Genus: Citrus
Species: C. maxima
ชื่อวิทยาศาสตร์
Citrus maxima
Merr.

ส้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในตระกูลเดียวกับส้ม ใบเป็นแผ่นหนาสีเขียวเข้ม โคนก้านใบมีหูใบแผ่ออกเป็นรูปหัวใจ ดอกเดี่ยว สีขาว กลีบดอกมี 4 กลีบ ผิวของเปลือกผลมีต่อมน้ำมันกระจายทั่วไป ผลส้มโอมีเปลือกหนาทำให้สามารถเก็บรักษาได้นาน มีรสหวาน มีวิตามินซีมาก ส้มโอจัดว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย นิยมปลูกทางภาคตะวันตกของประเทศ

ส้มโอมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ โกร้ยตะลอง (เขมร) มะขุน (เหนือ) มะโอ (เหนือ) ลีมาบาลี (มลายู ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง มลายู)[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ส้มโอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอด ลำต้นมีสีน้ำตาล มีหนามเล็ก ๆ สูงประมาณ 8 เมตร ใบประกอบ มีใบย่อย 1 ใบ แผ่นใบเหมือน มะกรูด คือแบ่งใบเป็น 2 ตอน แต่ขนาดใบใหญ่กว่า ใบหนาแข็ง มีสีเขียวแก่ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อสั้นหรือดอกเดี่ยว ตามบริเวณง่ามใบ มีสีขาว ปลายกลีบมนมี 4 กลีบ กลางดอกมี เกสร 20-25 อัน ผลกลมโต บางพันธุ์ตรงขั้วมีจุกสูงขึ้นมา ผิวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ผิวของผลไม่เรียบ ภายในผลเป็นช่อง ๆ มีแผ่นบาง ๆ สีขาวกั้นเนื้อให้แยกออกจากกัน เนื้อแต่ละส่วนเรียกว่า “กลีบ” มีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดฝังอยู่ระหว่างเนื้อมากกว่า 1 เมล็ด

ความเชื่อ

ในพิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ส้มโอถือเป็นเครื่องสังเวยที่สำคัญ เนื่องจากมีความเชื่อว่าหลังจากไหว้ ถ้าผ่าผลส้มโอออกแล้วกลางลูกแห้ง ไม่มีน้ำจะเป็นเครื่องหมายของโชคดี สตรีที่ยังไม่แต่งงานจะนำส่วนของส้มโอมาทาหน้า เชื่อว่าทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง และถ้ากินส้มโอในคืนนั้นจะทำให้ตาเป็นประกายสวยงาม

Leave a comment »

เชอร์รี่

เชอร์รี่

 
 
เชอร์รี
เชอร์รี เป็นผลไม้ที่มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
Kingdom: พืช (Plantae)
Division: พืชดอก (Magnoliophyta)
Class: พืชใบเลี้ยงคู่ (Magnoliopsida)
Order: Rosales
Family: Rosaceae
Subfamily: Prunoideae
Genus: Prunus
Subgenus: Cerasus
สปีซีส์
มีหลายสปีซีส์ รวมทั้ง:
Prunus apetala
Prunus avium (เชอร์รีป่า)
Prunus campanulata
Prunus canescens
Prunus cerasifera
Prunus cerasus (เชอร์รีเปรี้ยว)
Prunus concinna
Prunus conradinae
Prunus dielsiana
Prunus emarginata (เชอร์รีขม)
Prunus fruticosa
Prunus ilicifolia
Prunus incisa
Prunus laurocerasus (เชอร์รี Laurel)
Prunus litigiosa
Prunus lusitanica (เชอร์รี “Ginja”)
Prunus mahaleb (เชอร์รี Saint Lucie)
Prunus maximowiczii
Prunus nipponica
Prunus pensylvanica (เชอร์รี Pin)
Prunus pilosiuscula
Prunus rufa
Prunus sargentii
Prunus serrula
Prunus serrulata (เชอร์รีญี่ปุ่น)
Prunus speciosa
Prunus subhirtella
Prunus tomentosa (เชอร์รีนานกิง)
Prunus x yedoensis (เชอร์รี Yoshino)

เชอร์รี เป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ต้นเชอร์รีเป็นไม้ยืนต้นในสกุล Prunus สกุลย่อย Cerasus เป็นไม้พุมขนาดกลาง ชอบอากาศหนาวเย็น ใบเขียวเข้ม ดอกสีขาวอมชมพู ผลกลม ขนาดเล็ก เปลืกมีทั้งสีแดงเข้ม สีส้มและสีเหลือง โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือเชอร์รีหวาน กับเชอร์รีหวานอมเปรี้ยว แหล่งที่ปลูกเชอร์รี่มากคือทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย ยุโรปและญี่ปุ่น

เชอร์รีเป็นผลไม้ที่นำมาปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด ทั้งกินสดเป็นผลไม้ คั้นเป็นน้ำเชอร์รี ทำขนมเช่น พายเชอร์รี แยมเชอร์รีหรือนำไปเชื่อม เชอร์รี่ที่นิยมนำผลมาบริโภคมากที่สุดคือเชอร์รีป่า (P. avium

รวมภาพ

  • Kirsche.jpg
     
  • เชอร์รีป่า, Prunus avium

  • เชอร์รีสุก

  • การติดผลของเชอร์รีช่วงต้นเดือนพฤษภาคมในฝรั่งเศส

  • เชอร์รี Lambert ภาพวาดสีน้ำ ค.ศ. 1894

  • เชอร์รีกับใบเชอร์รี

  • เชอร์รีที่ผ่าแล้ว

  • เชอร์รีป่า ที่ยังไม่สุก

  • ใบเชอร์รี

  • ใบเชอร์รีป่า

  • ใบเชอร์รี

  • ต้นเชอร์รีที่เมือง Aita al-Foukhar ประเทศเลบานอน

Leave a comment »

แตงโม

แตงโม

 

ใบแตงโม

แตงโม ชื่อวิทยาศาสตร์: Citrullus lanatus เป็นผลไม้ที่มีน้ำประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก บักโม ภาคเหนือเรียก บะเต้า จังหวัดตรังเรียกแตงจีน ถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารีทวีปแอฟริกา[1] ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานเมื่อสี่พันปีมาแล้ว[2] ชาวจีนเริ่มปลูกแตงโมที่ซินเกียงสมัยราชวงศ์ถัง[ต้องการอ้างอิง] และชาวมัวร์ได้นำแตงโมไปสู่ทวีปยุโรป แตงโมแพร่หลายเข้าสู่ทวีปอเมริกาพร้อมกับชาวแอฟริกาที่ถูกขายเป็นทาส แตงโมต้องการดินที่มีความชุ่มชื้นพอเหมาะ น้ำไม่ขัง มักปลูกกันในดินร่วนปนทราย ในประเทศไทยมีการปลูกแตงโมทั่วทุกภูมิภาค และปลูกได้ทุกฤดู

แตงโมเป็นพืชในวงศ์เดียวกับแคนตาลูปและฟัก เป็นพืชล้มลุกเป็นเถา อายุสั้น เถาจะเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนอ่อนปกคลุม ผลมีทั้งทรงกลมและทรงกระบอก เปลือกแข็ง มีทั้งสีเขียวและสีเหลือง บางพันธุ์มีลวดลายบนเปลือก ในเนื้อมีเล็ดสีดำแทรกอยู่ แตงโมที่นิยมปลูกโดยทั่วไปมี 3 พันธุ์คือ

  • พันธุ็ธรรมดา มีเมล็ดขนาดเล็ก รสหวาน แบ่งย่อยได้อีกหลายพันธุ์ เช่น แตงโมจินตหรา ผลยาวรั เปลือกเขียวเข้ม มีลาย เนื้อสีแดง แตงโมตอร์ปิโด ลูกรีกว่าพันธุ์จินตหรา แตงโมกินรี ผลกลม เนื้อแดง แตงโมน้ำผึ้ง ผลกลม เนื้อเหลือง แตงโมไดอานา เปลือกเหลือง เนื้อสีแดง แตงโมจิ๋ว ผลขนาดเท่ากำปั้น เนื้อเหลือง เป็นต้น
  • พันธุ์ไม่มีเมล็ด เป็นพันธุ์ผสมเพื่อใช้ในการส่งออก ไม่มีเมล็ดแก่สีดำภายใน ในญี่ปุ่นมีการทำแตงโมให้เป็นทรงสี่เหลี่ยมโดยให้ผลเจริญในกล่อง เพื่อความสะดวกในการขนส่ง .[3]
  • พันธุ์กินเมล็ด ปลูกเพื่อนำเมล็ดมาคั่วเป็นเม็ดก๋วยจี๊ พันธุ์นี้มีเนื้อน้อย เมล็ดขนาดใหญ่

แตงโมไม่มีเมล็ด

แตงโมเนื้อเหลือง

แตงโมทรงสี่เหลี่ยมจากญี่ปุ่น

 การใช้ประโยชน์

แตงโมเป็นผลไม้ที่มีคุณสมบัติเย็น จะช่วยลดอาการไข้ คอแห้ง บรรเทาแผลในปาก เปลือกแตงโมนำไปต้มเดือด แล้วเติมน้ำตาลทราย ดื่มเพื่อป้องกันเจ็บคอ กินเป็นผลไม้สด ทำเป็นน้ำผลไม้ เปลือกหรือผลอ่อนใช้ทำอาหาร เช่น แกงส้ม ในเวียดนาม นิยมรับประทานเมล็ดแตงโมในเทศกาลปีใหม่ [4]

พบกรดอะมิโน citrulline เป็นครั้งแรกในแตงโม[5] โดยแตงโมมี citrulline มาก ถ้ารับประทานในปริมาณหลายกิโลกรัมจะตรวจพบในเลือดของผู้รัประทานได้ ซึ่งจะเข้าไปรบกวนวัฏจักรยูเรีย[6] ในเนื้อผลมีเบตาแคโรทีน[7] เปลือกที่มีสีเขียวอ่อนหรือขาวของแตงโมรับประทานเป็นผักได้ [8] นำไปทำไวน์ได้ [9]

Leave a comment »